วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

เงินบริจาคให้แก่หน่วยงานของรัฐ

เลขที่หนังสือ: กค 0706/10836
วันที่: 7 พฤศจิกายน 2546
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินบริจาคให้แก่หน่วยงานของรัฐ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 47(7)(ข)

ข้อหารือ: สำนักงานฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานฯ พ.ศ.2543 ได้
ดำเนินการจัดทำหนังสือ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา วันที่ 2 เมษายน 2546 โดยหนังสือดังกล่าวมี
เนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในสาขาต่าง ๆ
สำนักงานฯ จะจัดพิมพ์หนังสือ จำนวน 10,000 เล่ม โดยจะนำขึ้นทูลเกล้าถวายฯจำนวน
3,000 เล่ม เพื่อพระราชทานแก่โรงเรียนมัธยมทั่วประเทศ สำหรับจำนวนที่เหลือจะดำเนินการจำหน่าย
และนำเงินรายได้ทั้งหมดทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสต่อไป จึงหารือว่า การที่บุคคลและนิติบุคคลบริจาค
เงินให้กับสำนักงานฯ เพื่อสนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสือครั้งนี้จะได้รับยกเว้นภาษีหรือสามารถนำมา
หักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อ
คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ หรือไม่ ประการใด

แนววินิจฉัย: สำนักงานฯ เป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานของรัฐ ไม่เข้าลักษณะเป็นองค์การ หรือสถาน
สาธารณกุศล ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วย
ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3(4)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตาม
ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่
254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ดังนั้น
1. กรณีบุคคลธรรมดาบริจาคเงินให้แก่สำนักงานฯ บุคคลธรรมดาที่บริจาคเงินนั้น ไม่มีสิทธิที่
จะนำใบเสร็จรับเงินที่สำนักงานฯ ออกให้ มาใช้เป็นหลักฐานในการนำมาหักลดหย่อนภาษีได้เพราะไม่ใช่
การบริจาคเงินให้แก่องค์การ หรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกอบกับข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มฯ ดังกล่าว
ข้างต้น
2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบริจาคเงินให้แก่สำนักงานฯ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว ไม่มีสิทธินำเงินบริจาคมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะมิใช่การบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณะตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 66/32703
วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิเคราะห์งบการเงิน

การวิเคราะห์งบการเงิน
คือ กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงิน
และผลการดำเนินงานขององค์กรใด ๆ จากงบการเงินขององค์กรนั้น
พร้อมทั้งนำข้อเท็จจริงที่ได้มาใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ

ขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงิน

กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์

จัดเก็บรวบรวมข้อมูล

จัดวางข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน

เลือกเครื่องมือที่จะใช้วิเคราะห์

แปลความหมายและประเมินผลที่ได้จากการวิเคราะห์


ประเภทของการวิเคราะห์งบการเงิน


การวิเคราะห์แนวนอน (Horizontal Analysis)
ดูการเปลี่ยนแปลงของรายการสำคัญ

การวิเคราะห์แนวตั้ง (Vertical Analysis)
ดูสัดส่วนของของแต่ละงบ

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)
เน้นดูตัวที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้สินหมุนเวียน


สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratios)

1. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratios; CR)
= สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
การแปลความหมาย : ธุรกิจมีสินทรัพย์หมุนเวียนเป็น………เท่าของหนี้สินหมุนเวียน

2. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratios; QR)
= (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ)/หนี้สินหมุนเวียน
การแปลความหมาย : ธุรกิจมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว
อยู่เป็น………เท่าของหนี้สินหมุนเวียน

วัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ (Asset Management Ratios)

1. อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover)
= ต้นทุนสินค้าขาย/สินค้าคงเหลือ
การแปลความหมาย : ธุรกิจสามารถเปลี่ยนสินค้าคงเหลือเป็นยอดขาย
ได้………ครั้งต่อปี (ตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี)

2. ระยะเวลาการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ
= 365/อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ
การแปลความหมาย : เป็นตัวบอกว่ามีการสำรองสินค้าไว้นานเพียงใด

3. อัตราการหมุนของลูกหนี้ (Account receivable turnover)
= ต้นทุนสินค้าขาย/ลูกหนี้การค้า
การแปลความหมาย : ธุรกิจสามารถเก็บหนี้จากการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ
ได้………ครั้งต่อปี (ตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี)

4. ระยะเวลาการเก็บหนี้ (Average collection period)
= 365 / อัตราการหมุนของลูกหนี้
การแปลความหมาย : ในการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อแต่ละครั้งใช้เวลา
ในการเก็บหนี้ประมาณ……..วัน (ตัวเลขยิ่งน้อยยิ่งดี)

5. อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed assets turnover)
= รายได้รวม/สินทรัพย์ถาวร
การแปลความหมาย : สินทรัพย์ถาวรของธุรกิจจะก่อให้เกิดรายได้
เป็น……..เท่าของสินทรัพย์ถาวร (ตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี)

6. อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม (Total assets turnover)
= รายได้รวม/สินทรัพย์รวม
การแปลความหมาย : สินทรัพย์รวมของธุรกิจจะก่อให้เกิดรายได้
เป็น……..เท่าของสินทรัพย์รวม (ตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี)


วัดความสามารถในการก่อหนี้และการชำระหนี้
(Leverage Ratios)

1. อัตราส่วนแห่งหนี้ (Debt ratio)
= (หนี้สินรวม/สินทรัพย์รวม) * 100
การแปลความหมาย : ทุก 100 บาทของสินทรัพย์รวม
ธุรกิจมีภาระหนี้สินทั้งหมด……….บาท (ตัวเลขยิ่งสูง ความเสี่ยงสูง)

2. อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน (Debt to equity ratio)
= (หนี้สินรวม/ส่วนทุน) * 100
การแปลความหมาย : ทุก 100 บาทของส่วนทุน
ธุรกิจมีภาระหนี้สินทั้งหมด……….บาท (ทำให้ทราบถึงสัดส่วนโครงสร้างเงินทุน)


วัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)

1. อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)
= (กำไรสุทธิ/ยอดขาย) * 100
การแปลความหมาย : ทุก 100 บาทของยอดขาย
ก่อให้เกิดกำไรสุทธิ……….บาท (ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งดี)

2. อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (Return on assets : ROA)
= (กำไรสุทธิ/สินทรัพย์รวม) * 100
การแปลความหมาย : ทุก 100 บาทของสินทรัพย์รวม
ก่อให้เกิดกำไรสุทธิ……….บาท (ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งดี)

3. อัตราผลตอบแทนต่อทุน (Return on equity : ROE)
= (กำไรสุทธิ/ส่วนทุน) * 100
การแปลความหมาย : ทุก 100 บาทของเงินทุน
ก่อให้เกิดกำไรสุทธิ……….บาท (ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งดี)
วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประเด็นที่ควรระวัง

1. งบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงิน ควรเปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็น
2. หลีกเลี่ยงการขอคืนภาษี
3. ไม่ควรยื่นเพิ่มเติมบ่อยๆ
4. ไม่ควรมีเงินสดคงเหลือมากเกินไป
5. กฏหมายลูกจะแตกต่างจากหลักเกณฑ์ทางบัญชี เช่น ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ค่ารับรอง หนี้สูญ
6. บัญชีเงินยืมกรรมการ กรรมการสามารถให้บริษัทกู้ยืมเงินได้โดยไม่คิดดอกเบี้ย
วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สิทธิและประโยชน์ทางด้านภาษีอากร

สิทธิและประโยชน์ทางด้านภาษีอากรสำหรับกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520


1. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ
จากการดำเนินกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน
2. สามารถนำผลขาดทุนจากกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน
ไปใช้ได้ภายใน 5 ปีนับแต่พ้นกำหนดเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
โดยไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของประมวลรัษฎากร

3. การยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ประเภทค่าสิทธิที่กิจการได้จ่ายให้แก่บุคคลอื่น
4. การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ
จากกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน
5. การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา
ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกร้อยละ 50

6. การสามารถหักรายจ่ายค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าและค่าประปา
ได้เป็นจำนวน 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้เสียไป

7. มีสิทธิจะวางเงินประกัน หลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกัน
เพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มแทนการชำระภาษีจากการนำเข้าสินค้า

8. ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร หรือวัตถุดิบจำเป็น
Note : กิจการอาจได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ครบทุกข้อ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะอนุมัติให้ตามบัตรส่งเสริม และกิจการต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นจึงจะสามารถนำสิทธิประโยชน์มาใช้ได้